วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วีดีโอเกี่ยวกับอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์



ขอขอบคุณข้อมูลจากแชแนล Jonathan Chan ในยูทูป

ฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External Harddisk)

        External Harddisk คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถพกพาหรือนำติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ เป็น harddisk แบบเดียว harddisk ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ External Harddisk นี้ใช้เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วน Harddisk ทั่วไปนั้น อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ Harddisk ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ มาติดตั้งในกล่องสำหรับใส่ Harddisk โดยจะมีแผงวงจรควบคุมการทำงานของ Harddisk ที่ติดตั้งอยู่ในกล่อง โดยคุณสามารถเลือกขนาดความจุของ Harddisk มาติดตั้งในกล่องนี้ได้ตามความต้องการ และชนิดของ Harddisk ที่จะนำมาติดตั้งในกล่องนี้ ต้องเลือกให้ถูกต้องกับประเภทของกล่องซึ่งจะมีอยู่ สองแบบ โดยทั่วไป คือ IDE และ SATA แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มจะมีทั้ง e-SATA เข้ามาบ้างแล้ว รวมถึงเทคโนโลยีการถ่ายโอนข้อมูลล่าสุด USB 3.0 ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
         ประโยชน์ของ External Harddisk นี้นอกจากเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้เยอะแล้ว ยังใช้เป็นฮาร์ดดิสก์เสริมให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้อีกด้วย เนื่องจากว่า External Harddisk ก็เสมือนเป็นฮาร์ดดิสกือีกตัวหนึ่ง เพราะเราสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการลงใน External Harddisk นี้ได้ อย่างในฮาร์ดดิสหลักที่ใกล้เต็มแล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง เราก็สามารถย้ายข้อมูลมาที่ External Harddisk ได้ ทำให้ปัญหาเครื่องอืดลดลง หรือบางคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 32 bit แต่ต้องการใช้ โปรแกรมแบบ 64 bit ก็สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้เสริมเข้าไป โดยให้โปรแกรมแบบ 64 bit ที่คุณต้องการ รัน บน External Harddisk แทน เท่านี้คุณก็สามารถใช้ โปรแกรมแบบ 64 bit ได้แล้ว โดยไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่
         external harddisk ที่ซื้อขายกันในตลาดก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆตามความสะดวก ก็คือ external harddisk แบบ PC กับ external harddisk แบบ notebook

1.external harddisk แบบ PC นั้นมีข้อดีที่ "มีราคาถูก" เมื่อเทียบกับอีกแบบ (ความจุเท่ากัน) แต่ก้อมีข้อเสียที่ขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับอีกแบบ

2.external harddisk แบบ notebook นั้นมีข้อดีตรงที่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อยกว่าแบบแรก จึงสามารถพกพาได้สะดวก แต่มีราคาที่แพงกว่าแบบแรก (ความจุเท่ากัน)





Light Pen

Light Pen


Light Pen เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่มีเซลล์แบบ photoelectric ซึ่งมึความไวต่อแสงทำงานคล้ายกับเมาส์ที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีรูปร่างเหมือนปากกาและมีแสงอยู่ตอนปลาย มีสายที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ปลายข้างหนึ่งของปากกาจะมีสายเชื่อมที่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ (Computer Aided Design หรือ CAD) การวาดภาพสำหรับงานกราฟิก รวมทั้งยังนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือและจิ้มเลือกเมนูรายการที่ต้องการบนหน้าจอ เพื่อส่งผ่านข้อมูลการเลือกนั้นให้กับโปรแกรมที่อยู่ในหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังมีการใช้ปากกาแสงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาหรือปาล์มท็อปอย่างแพร่หลายด้วย เช่น PDA ข้อดีของปากกาแสง คือ สามารถจี้ไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอกตำแหน่งที่ต้องการ

แหล่งจ่ายไฟสำรอง(UPS)

                UPS เป็นคำย่อมาจากคำว่า "Uninterruptible Power Supply" หรือ "เครื่องสำรองไฟฟ้า" ถ้าแปลตรงตัวหมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง อาจกล่าวได้ว่า UPS ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในเวลาที่เกิดไฟดับหรือเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าผันผวนผิดปกติ โดย UPS จะทำการปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
                   UPS มีหน้าที่หลัก คือ ป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ) อันมีสาเหตุจากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน เป็นต้น รวมถึงมีหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า


ลำโพง (Speaker)

ลำโพง (Speaker)


ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกล อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ และลำโพงทั้งตู้ ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก)

ลำโพงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายนิ้ว จนถึงใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนับสิบนิ้ว โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน

หลักการทำงานของลำโพง

เมื่อมีการป้อนสัญญาณไฟฟ้าให้กับขดลวดเสียงของลำโพงหรือมีการนำลำโพงไปต่อกับ เครื่องขยายสัญญาณเสียงจะมีสัญญาณเสียงออกมาที่ลำโพงหลักการคือ เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้ามาจะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กเกิดขึ้นโดยรอบอำนาจ ของเส้นแรงแม่เหล็กจะดูดและผลักกับเส้นของแม่เหล็กถาวรตามสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากความถี่เสียง ซึ่งมีความถี่เสียงตั้งแต่ 20 Hz - 20 KHz ที่มีการเปลี่ยนแปลงเฟสตลอดเวลาทำให้กรวยกระดาษที่ยึดติดกับขดลวดเสียงเกิดการเคลื่อนที่ดูด และผลักอากาศ จึงเกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้น ส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องเล่นเหล่านี้ก็คือลำโพง โดยหน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด เสียงเป็นคลื่นตามยาว เสียงแหลมและทุ้มขึ้นกับความถี่ ส่วนสียงดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับขนาดแอมพลิจูดของคลื่นนั้น

ประเภทของลำโพง

ทวีทเตอร์ คือลำโพงที่มีขนาดเล็กสุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง

มิดเรนจ์ คือลำโพงขนาดกลางของตู้ลำโพงถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่เป็นกลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำมากเกินไป

วูฟเฟอร์ คือลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ

ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว